วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 7 วันที่ 28/07/2556




อาจารย์ ขอชดเชย จากสัปดาที่ 22 กรกฏาคม 2556 เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว 
เป็นวัน อาสาฬหบูชา
วันนี้ อาจารย์ ได้ให้เข้า อบรม ทำสื่อ



ครั้งที่ 6 วันที่ 22/07/2556



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุด อาสาฬหบูชา
วัน อาสาฬหบูชา 22 ก.ค. วันอาสาฬหบูชา 2556 วันอาสาฬหบูชา ประวัติ อาสาฬหบูชา วันสำคัญ วันอาสาฬหบูชา ปีนี้ตรงกับ 22 ก.ค. 2556 วันอาสาฬหบูชา ภาษาอังกฤษ วันอาสาฬหบูชา


อาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา ประวัติ

วันอาสาฬหบูชา 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา - Asalha Puja Day
วันอาสาฬหบูชา ในปีนี้ ตรงกับวันอังคารที่ 22 ก.ค. 2556
ความหมายของ อาสาฬหบูชา
“อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา/อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา
โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือ
  1. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
  2. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา
  3. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์
  4. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูป แรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว
  5. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า
เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา นี้ว่า วันพระสงฆ์ (คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์)


อาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา ประวัติ


วันอาสาฬหบูชา 22 ก.ค. วันอาสาฬหบูชา 2556 วันอาสาฬหบูชา ประวัติ
วันอาสาฬหบูชา คือ วันสำคัญของไทย เป็นวันสำคัญทางศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้ง มาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้งจึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภทคือ
  1. อุคฆติตัญญู ผู้ที่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สั่งสอน เปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานเมื่อได้ได้รับแสงอาทิตย์ในวันนั้น
  2. วิปัจจิตัญญู สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านได้ขยายความให้พิสดารออกไป เปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จะบานในวันรุ่งขึ้น
  3. เนยยะ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรมวิเศษเปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ แต่เมื่อได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำแล้ว ก็ย่อมจะโผล่และบานขึ้นในวันต่อ ๆ ไป
  4. ปทปรมะ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่องแล้ว ก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำกับเปือกตม รังแต่จะเป็นอาหารเต่าและปลา
เมื่อ ทรงเล็งเห็นเหตุนี้แล้ว พระพุทธองค์ตกลงพระทัยที่จะสอนบุคคลประเภทแรกก่อน จึงเสร็จจากตำบลพระศรีมหาโพธิ ถึงกรุงพาราณสี ในตอนเย็นวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน อาสาฬหะ ประทับแรมอยู่กับพระปัญจวัคคีย์นั้น รุ่งขึ้นวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตสูตรโปรดพระปัญจวัคคีย์ สรุปลงด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่
  1. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
  2. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
  3. นิโรธ ความดับทุกข์
  4. มรรค ทางที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า “ปฐมเทศนา”
ขณะที่ทรงแสดงธรรมอยู่นั้น ท่านโกณฑัญญะ หรือ อัญญาโกณฑัญญะ หัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์มีความเข้าใจในหลักสัจธรรมของพระองค์ จึงได้สมัครเข้าเป็นสาวก นับเป็น“ปฐมสาวก” ของพระพุทธเจ้า
หลัง จากนั้นพระอัญญาโกณฑัญญะทูลขออุปสมบท ซึ่งพระพุทธองค์ประทานอนุญาต ด้วย “เอหิภิกขุ อุปสัมปทา” นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนาที่บวชตามพระพุทธองค์
จะเห็นได้ว่า ปรากฏการณ์สำคัญ ๆ ในวันอาสาฬหบูชานี้มีถึง 4 ประการ ด้วยกันคือ
  1. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
  2. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
  3. เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก
  4. เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะครบสาม เป็นพระรัตนตรัย คือ
    • พระพุทธรัตนะ
    • พระธรรมรัตนะ
    • พระสังฆรัตนะ
เดิมวันนี้ไม่มีพิธีพิเศษ คงเนื่องมาจากวันก่อนเข้าพรรษาเพียงวันเดียว ประชาชนชาวพุทธได้ประกอบการบุญการกุศลเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ต่อมาสังฆมนตรี มีมติให้ชาวพุทธประกอบการบูชาเป็นพิเศษในวันนี้ และเรียกว่า “วันอาสาฬหบูชา” เมื่อรัฐบาลเห็นชอบด้วยจึงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
จึง นับแต่ปี พ.ศ. 2504 จนถึงปัจจุบัน เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชาพวกเราชาวพุทธ ต่างก็ประกอบการบูชาเป็นพิเศษตลอดวันนั้น นับตั้งแต่รับศีล ฟังเทศน์ สนทนาธรรม สวดมนต์ เดินเวียนเทียนพระพุทธสถาน เช่น รอบโบสถ์ วิหาร เจดีย์ หรือต้นศรีมหาโพธิ เป็นต้น เช่นเดียวกันวันมาฆบูชา วิสาขบูชา ต่างกันที่เปลี่ยนคำบูชาพระก่อนเวียนเทียนตามประกาศของสำนักสังฆนายก

อาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา ประวัติ               
   วันอาสาฬหบูชา 22 ก.ค. วันอาสาฬหบูชา 2556 วัน


แหล่งที่มาวันอาสาฬหบูชา
ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ,2525.

ข้อมูลเพิ่มเติม : ประวัติวันสำคัญของไทย

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5 วันที่ 15/07/2556




อาจารย์ ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่อประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ ใครที่ยังไม่ผ่าน หรือ แก้ไขจากสัปดาห์ที่แล้ว

และ อาจารย์ให้นักศึกษาทำสื่อเข้ามุม และ เตรียมการทดลอง มานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป
หลังจากนั่น อาจารย์เปิด รูปาพ ที่เป็น ดูสื่อของโรงเรียนต่างๆ พร้อมอธิบาย ว่า เค้ามีวิธีการทำอย่างไร และสามารถสอนเด็กได้อย่างไร  ในเรื่องการทดลอง แรงดัน


อาจารย์ได้เปิด คลิปวีดีโอ ให้ดูในเรื่องของ

1. ISCI ความฉลาดแบบยกกำลังสอง : เรื่อง "ลูกโปร่งรับน้ำหนัก"
 ว่าถ้าเรานำลูกโป่งมาวางเรียงกัน และนำ ฟิวเจอร์บอร์ดวางทับด้านบน ลูกโ่งสามารถรับน้ำหนักที่คนนั่งได้หรือไหม รือ การวางหนัังสือเล่มใหญ่ บนลูกโป่ง

http://www.youtube.com/watch?v=HP98DG-C2zw




2. รู้รอบโลกวิทยาศาสตร์ : เรื่อง "เมล็ดจะงอกไหม"


งานที่ได้รับมอบหมาย


1.สื่อวิทยาศาสตร์เข้ามุม 1 ชิ้น
2.สื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ 1 ชิ้น
3.สื่อประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ 1 ชิ้น




เรียนชดเชย ในวันอาทิตย์ ที่ 28 ก.ค 2556 (เวลา 08.30-12.20 น.)

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4 วันที่ 08/07/2556


อาจารย์สาธิตการไหลของน้ำ โดยการใช้ขวดพลาสติก มาเจาะรูใต้ก้น แล้วนำมาใส่ขวด น้ำก็จะไหลออกจากขวด แต่พอเราเอาฝามาปิดปากขวด น้ำก็จะไม่ไหลออกจากขวด สังเกต การไหลของน้ำที่ได้ คือ เมื่อมีอากาศเข้ามาแทนที่ 





และอาจารย์ได้แจก กระดาษ เอสี่ ให้คนละ 1 แผ่น ให้พับเป็นแผ่นเล็กๆ ให้ได้ 8 แผ่น จากนั่นนำมา เย็บรวมกัน แล้วให้วาดภาพ เพิ่มลงไปเรื่อยๆ จะเกิดภาพเคลื่อนไหว หรือ ภาพติดตา



หลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว
การที่เราเห็นภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพที่ฉายต่อเนื่องกัน ดูเป็นลักษณะภาพเคลื่อนไหวได้นั้น สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision)  อันเป็นหัวใจของหลักการสร้างภาพยนตร์เพราะภาพยนตร์ก็คือภาพนิ่งแต่ละภาพที่ ต่อเนื่องกันอย่างมีระบบนั่นเอง  ซึ่งมีที่มาตั้งแต่ของเล่นที่ชื่อว่า ภาพหมุน ( Thaumatrope )
ภาพหมุน ( Thaumatrope )
Thaumatrope เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) โดย ดร.วิเลี่ยม เฮนรี่ ฟิตตอน (Dr. William Henry Fitton) ซึ่งได้แนวคิดมาจากเซอร์จอห์น เฮอร์เซล ผู้ที่สังเกตว่าสายตามนุษย์สามารถมองเห็นภาพทั้งสองด้านของเหรียญที่หมุน อยู่ได้พร้อมกัน


ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision)
การที่เราเห็นภาพหมุน ( Thaumatrope ) เป็นรูปนกอยู่ในกรงได้นั้น สามารถอธิบายได้ด้วย ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา ซึ่งมีหลักการดังนี้


Dr. John Ayrton Paris

หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้
อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับประการหนึ่ง ก็คือ ก่อนที่จะเปลี่ยนภาพใหม่จะต้องมีอะไรมาบังตาเราแว่บหนึ่ง แล้วค่อยเปิดให้เห็นภาพใหม่มาแทนที่ตำแหน่งเดิม โดยอุปกรณ์ที่บังตาคือซัตเตอร์ (Shutter) และระยะเวลาที่ซัตเตอร์บังตาจะต้องน้อยกว่าเวลาที่ฉายภาพค้างไว้ให้ดู มิฉะนั้นจะมองเห็นภาพกระพริบไป ดังนั้น เมื่อเอาภาพนิ่งที่ถ่ายมาอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกัน แล้วฉายภาพนั้นในเวลาสั้น  ๆ ภาพนิ่งเหล่านั้นจะดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว หลักการนี้จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์ในระยะเวลาต่อมา


หลังจากนั่น อาจารย์เปิด วีดีโอให้ดู ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องอากาศ




สรุปสาระ สำคัญ ที่ได้จากการดูวีดีโอ อากาศ
ลมที่เคลื่อนที่ได้ มนุษย์ใช้อากาศในการหายใจ ชามแก้วใสติดกระดาษ จุ่มลงในน้ำ แก้วไม่เปียก อากาศไม่มีขนาดรูปร่าง แต่แทรกตัวได้เต็มที่ การทดลองเติมน้ำใส่ขวด โดยใช้ถ้วยตวงใส่ได้สบาย เอาดินน้ำมันมาปิดฝาขวด แล้วใส่น้ำ จะใส่ได้ช้า อากาศในขวด ออกได้เติม แต่ปิดดินน้ำมันอากาศออกไม่ได้  


-  อากาศมีตัวตน แต่ถ้าถูกอะไรแทนที่อากาศจะออกไป 
 -  อากาศมีน้ำหนัก การทดลองจากลูกโป่ง ลูกโป่งที่ีมีลมจะหนักกว่าลูกโป่งไม่มีลม 
 -  อากาศร้อนกับอากาศเย็นแตกต่างกันอย่างไร แก้วในเทียนไข ความร้อนเบากว่า หลักการผลิตบอลลูน ขวดแช่น้ำร้อน น้ำเย็น ใส่ควันธูป สลับกัน น้ำเย็นข้างบน ควันธุปจะไม่ลอย เพราะ อากาศปรับสมดุลตลอดเวลา ให้มีปริมาณเท่ากัน จะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ลม


และหลังจากนั่น อาจารย์ให้ ออกไปนำเสนอ ของเ่ล่น ที่ให้ไปคิดมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าเราจะประดิษฐ์ของเล่นอะไร ทำจากอะไร และีมีหลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างไร ซึ่งของเล่นบางอย่างที่เพื่อนนำมา จัดอยู่ในการทดลองบ้าง หรือ จัดเข้ามุม บ้าง ของที่ดิฉันนำเสนอ คือ


แมงกระพรุนในขวดน้ำ ( จัดเป็นของเข้ามุม )





อุปกรณ์
                       1. ถุงก๊อบแก๊บ สีใส เลือกที่เนื้อบางที่สุดเท่าที่จะหาได้
                       2. ขวดน้ำพลาสติก
                       3. ด้าย
                       4. สีผสมอาหาร
                       5. กรรไกร


วิธีทำ


              •  พับถุงก๊อบแก๊บให้แบนราบ ตัดส่วนที่เป็นหูหิ้ว และก้นออก (รูปที่ 1)
              •  ตัดด้านข้างออกทั้ง 2 ข้าง (รูปที่ 2) จะได้เป็นแผ่นพลาสติกบางๆ 2 แผ่น
                 (เราจะใช้แค่แผ่นเดียวนะ)
              •  รวบส่วนหัวที่ตรงกลางแผ่นพลาสติก ทำให้พองๆ เหมือนลูกโป่งเล็กๆ แล้วใช้ด้ายมัด                  (รูปที่ 3)   มัดพอให้อยู่เป็นทรงไม่ต้องให้แน่นนะคะ เหลือที่ให้มีรูพอที่เราจะใส่น้ำ                            เข้าไปได้ด้วย  (รูปที่ 7-8)    



                        


* วิธีตัดหาง ประยุกต์ตัดเอาตามที่ถนัดก็ได้นะคะ ข้างล่างนี่เป็นวิธีทำของเล็ก อาจจะใช้เวลาและความพยายามสักหน่อยแต่ เล็กทดลองตัดอยู่ 2-3 แบบพบว่าวิธีนี้จะได้รูปทรงที่เหมือนหางแมงกะพรุนมากที่สุดค่ะ

              •  ตัดให้เป็นหางอย่างหยาบๆ เป็นชิ้นใหญ่ๆ ทั้งรอบตัวอาจจะได้ประมาณ 8 -10 แฉก
                  (รูปที่ 4)

              •  จับแต่ละแฉกออกมาตัดให้เป็นหางอย่างละเอียดอีก แฉกละประมาณ 3-4 เส้นก็พอค่ะ                   (รูปที่ 5) ส่วนที่เหลือตัดทิ้ง

              •   ตัดแต่งทรงหางอีกสักหน่อย ให้มีหางสั้นบ้าง ยาวบ้าง (รูปที่ 6)





เสร็จแล้วก็จะได้เป็นตัวแมงกะพรุนอย่างนี้ค่ะ
*กองทางซ้ายคือส่วนที่เราตัดทิ้งไป


     



              • ใส่น้ำลงไปในส่วนหัวของแมงกะพรุนเล็กน้อยเพื่อช่วยให้มันจมน้ำ (รูปที่ 7) โดยให้                       เหลือส่วนที่เป็นอากาศไว้นิดหน่อย (รูปที่ 8 ) เพื่อให้อากาศช่วยนำให้แมงกะพรุน                         ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ

              • ใส่น้ำให้เต็มขวดพลาสติก (รูปที่ 9)
              • ใส่แมงกะพรุนที่แราทำไว้ลงไปในขวด (รูปที่ 10) หยดสีผสมอาหารสีฟ้า หรือสีเขียวลง                  ไปเล็กน้อย 


*อย่าลืมเช็คฝาขวดว่าปิดสนิทดีก่อนส่งให้เด็กๆ เอาไปเล่นนะคะ





              วิธี เล่นก็แค่ให้เด็กๆ คว่ำขวดขึ้น-ลง แมงกะพรุนตัวจิ๋วก็จะว่ายน้ำไปมา ดูแล้วเพลิดเพลินชนิดผู้ใหญ่ยังเคลิ้มเลยค่ะ เราสามารถต่อยอดการเรียนรู้จากของเล่นชิ้นนี้ไดhมากมายเลยค่ะ ที่เห็นๆ เลยก็คือทำให้เขารู้จักแมงกะพรุน ถ้าลูกยังไม่เคยเห็นก็เปิดใน youtube ให้ดูเลยค่ะ อธิบายให้เขารู้ถึงลักษณะของมัน ถิ่นที่อยู่และอันตรายที่เราควรจะต้องระวังจากพิษของแมงกะพรุนของจริง

              เด็กเล็กๆ อย่างน้องภูมิก็ได้ฝึกกล้ามเนื้อในการจับ ยก พลิก หมุนขวด ได้เรียนรู้ถึงปฏิกริยาที่สัมพันธ์กันระหว่างทิศทางการหมุนกับการเคลื่อนที่ ของเจ้าแมงกะพรุนจิ๋ว ส่วนเด็กที่โตหน่อย เราสามารถให้เขาช่วยคิดว่าทำไมแมงกะพรุนจิ๋วจึงลอยตัวชึ้นสู่ผิวน้ำเสมอ แล้วแมงกะพรุนจริงๆ ว่ายน้ำอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกับแมงกะพรุนจิ๋วที่เราทำ ฯลฯ



                               

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3 วันที่ 01/07/2556


อาจารย์ได้สรุปเนื้อหาสาระ ของ คำว่า วิทยาศาสตร์ ให้ฟัง โดยอาจารย์ได้แยกออกเป็นหัวข้อต่าง และให้สมาชิกในชั้นเรียน ช่วยกันแสดงความคิดเห็น สรุปออกมาในรูปแบบของ Mild Map มีสาระดังนี้






หลังจากนั่นอาจารย์ได้แจกของเล่นที่รุ่นที่ได้ทำไว้มาให้ดู เป็นเรื่องของแสง เป็นคล้ายหลอดยาวๆทำมาจากวัสดุเหลือใช้ ให้มีทั้งมุมที่ทึบและมุมที่สว่าง ใส่ลูกปิงปอง ลงไปไว้ข้างใน และมีรูไว้สำหรับใช้ตาส่องดู ความเคลื่อนไหว ในหลอด  เมื่อเราใช้ตาส่องเข้าไปดูในอุปกรณ์นั่น  เราจะสังเกตได้ว่าจะมีจังหวะที่มองและมองไม่เห็นวัตถุนั้น เพราะมันมีการเปลี่ยนแปลง แสงจะทำให้เด็กเห็นวัตถุ เพราะแสงกระทบกับวัตถุ



อาจารย์เปิด วีดีโอ เรื่อง ความลับ ของแสง



สรุปสาระสำคัญ ได้ ดังนี้


แสงมีความสำคัญมาก พอไฟฟ้าดับก็ไม่มีแสงใดๆ พอฝนตกก็มองอะไรไม่ชัด แสงจะเป็นตัวช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆชัดเจน

- แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง เป็นคลื่ินที่มีความยาว และ เร็วมาก 3 แสน/วินาที
ทดลองที่ช่วยให้เรามองเห็น คือ นำกล่องใบใหญ่ 1 ใบมา เจาะรู แล้ว นำวัตถุมาใส่ ในกล่อง และ ปิดกล่อง ลองมองในรูู ที่เจาะไว้ข้างในมืดสนิท ค่อยๆเปิดฝาแล้วมองดู เห็นวัตถุที่อยู่ในกล่อง เพราะแสงส่องมาโดนวัตถุ แสงสะท้อนวัถตุนั้นมาที่ตาของเรา ตาของเราคือจอรับแสงมองมาที่วัตถุโดยตรง

ทำไมถึงแยกวัตุโปร่งแสงและโปร่งใส
- โปร่งแสงจะทะลุบางส่วนเท่านั้น เช่น กระจกฝ้า
- โปร่งใสจะทะลุผ่านไปทั้งหมดและมองชัดเจน เช่น กระจกใส
ทำไมภาพที่เรามองถึงกลับหัว
- ดวงตามีรูเล็กๆ คือ รูรับแสง ในตาเราก็มองภาพกลับหัวเหมือนกัน เพียงเพราะว่าสมองกลับภาพของเราเป็นปกติโดยอัตโนมัติ