วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2 วันที่ 24/06/2556



อาจารย์ให้จัดโต๊ะแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน แจกทฤษฏี วิทยาศาสตร์ ให้อ่านอย่างรวดเร็ว แล้วสรุป ตามความเข้าใจของตัวเอง ลงบนกระดาษแผ่นเดียว แลกเปลี่ยนความคิดจากเพื่อนๆ สรุป เป็นความคิดของกลุ่ม


หลังจากนั่น อาจารย์ ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่ม หมุนเวียนไปยังกลุ่มต่างๆ เพื่อรับแนวคิดเพิ่มเติม

จากหัวข้อ
แล้วนำมาสรุปเป็นของกลุ่มต่างๆอีกครั้ง


แล้วเลือกรูปแบบที่เราจะนำเสนอให้เพื่อนๆเข้าให้เข้าใจในความ



แตกต่างระหว่างของกลุ่มเรา และของกลุ่มเพื่อน ออกมานำเสนอ ความคิดทางวิทยาศาสตร์ หน้าห้อง





สามารถสรุปได้ดังนี้

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต
วิทยาศาสตร์ (Scientific) หมายถึง การค้นคว้าหาความรู้อย่างดีมีระบบ
ผลผลิต (Product) หมายถึง สิ่งที่ปรากฎขึ้นภายหลังจากที่ทำการทดลองหรือการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมวทยาศาสตร์นั้นกระบวนการและผลผลิต จะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ครููจะต้องเตรียมกิจกรรมให้กับเด็ก กระบวนการในการทำควรเสนอแนะวิธีการใดๆทั้งสิ้น โดยให้แลกเปลี่ยนกระบวนการและผลผลิต
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific process.)
เน้นที่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิตที่เด็กทำการทดลอง



วิทยาศาสตร์ในระดับอนุบาลมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสืบค้นวิธีการในการสอนไปพร้อม กับการช่วยให้เด็กเข้าใจพื้นฐานของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง พยายามเปิดโอกาสให้เ็ด็กได้มีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างตัวเด็กสร้างเสริมประสบการณ์สนับสนุนให้เด็กเข้าไปมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก

กองบัญชาการของร่างกาย คือความรู้สึก นึกคิด เป็นการเรียนรู้
การเรียนรู้เกิดจากเส้นใยสมองเชื่อมต่อกัน



ความสำคัญ
วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันถือว่าสำคัญมาก เพราะเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตทุกคน รวมทั้งการดำรงชีวิต ทำให้คนพันาวิธีการคิด เป็นเหตุและผล และที่สำคัญ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ

การปรับตัวเข้าสู้สภาวะสมดุลย์ระหว่างอินทรีย์ และ สิ่งแวดล้อม
- การปรับโครงสร้างความคิดเดิม
- การปรับแนวคิดแลพฤติกรรม

พัฒนาการทางสติปัญญา
- ความเจริญงอกงาม
- การมีปฎิสัมพันธ์
- ผลของการมีปฎิสัมพันธ์

กระบวนการปฎิสัมพันธ์ มี 2 กรบวนการ
1. กระบวนการดูดซึม
2. กระบวนการปรับโครงสร้าง

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 
ช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สดคล้องกับธรรมชาติ และสอนให้เด็กเรียนรุ้ตามธรรมชาติ





หลังจากนั่น อาจารย์ได้เปิดวีซีดีให้ดู เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ หลัจากดู วีดีซี สามารถสรุปได้ดังนี้

"แทรี่กับหมีจ๋าง" พาน้อง ๆ ไปรู้จักกับของเหลวธรรมดาที่มีชื่อว่า "น้ำ" ความลับมากมายที่ซ่อนอยู่ในน้ำ ที่เราใช้ดื่มใช้อาบกันอยู่ทุกวัน น้ำมีส่วนประกอบในร่างกายของเราถึง 70 %  เทรี่จะพาไปดูการจำลองการเกิดฝน การเปลี่ยนสถานะของน้ำ มีทั้งของเหลว ของแข็งและ ก๊าซ  โมเลกุลของน้ำและน้ำแข็ง เมฆมาจากไหน แอ่งน้ำหลังฝนตก ทำไมถึงหายไป อะไรคือแรงตึงผิวน้ำ ทดลองเกี่ยวกับแรงดันของน้ำ ทำไมดำน้ำลึก ๆ ถึงอึดอัด การตกปลาน้ำแข็ง และทฤษฎีท่อรูเข็ม หลากหลายการทดลองที่น่าตื่นเต้นและอัศจรรย์แถมพกด้วยมายากลอันน่าพิศวงจาก คุณ "โบกี้" ที่จะมาเสกเข็มให้ลอยอยู่บนผิวน้ำรวมทั้งการทำของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างความ เข้าใจเกี่ยวกับน้ำเช่น "เรือพลังสบู่" และ "ปลาหมึกดำน้ำ"






วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 1 วันที่ 17/06/2556


วันนี้เป็นการเรียนคาบแรก ของ วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ จะพูดถึงเรื่องความหมาย ที่สามารถ แยก ออกจากคำทั้งหมดได้เป็น 3 ความหวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


อาจารย์ป้อนคำถาม คำว่า วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กับ การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ มีความต่างกันอย่างไร

ภาษา และ คณิตศาสตร์ ที่เราเคยเรียนไปเมื่อเทอมที่แล้ว จัดว่าเป็นเครื่องมือในการรับรู้ลำดับถัดไป
ดังนั่น เมื่อพูดถึง วิทยาศาสตร์ เราก็จะนึกถึง เนื้อหา ทฤษฎี การทดลอง ประดิษฐ์ ข้อความรู้ ธรรมชาติรอบตัว  สิ่งมีชีวิตไม่มีชีวิต สายลมแสงแดด และกระบวนการต่างๆ

เมื่อเราพูดถึง เด็กปฐมวัย เราจะนึกถึง พัฒนาการ มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไป ตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องตามช่วงอายุ


อาจารย์ ได้แจกกระดาษ ให้เขียน ความหวังในการเรียน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ความหวังจากการจัดประสบการณ์ ที่ดิฉันคิดไว้ คือ





เราจะกำหนด สาระการเรียนรู้  เราต้องอ้างอิง ศึกษา จากหลักสูตร

หลังจากนั่น อาจารย์พูดถึงเรื่องการทำ Blogger และปล่อยให้เราไปสร้าง Blogger เป็นของตัวเอง