วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปโทรทัศน์ครู




สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย (กรรณิการ์ เฉิน) 

                     เป็นการสอนเด็กโดยการนำเสนอสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน เพื่อเป็นเทคนิคในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้วัสดุรอบตัว 

                   โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลงจากกก้อนน้ำตาลสีขาว สังเกต ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะเช่นไร
                   การใช้กระดาษทิชชูอธิบายความลับของสีดำซึ่งมีสีอื่นๆ ซ่อนอยู่มากมาย 
                   หรือการอธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ 

                   ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายๆ

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย


สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ


          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีจุด มุ่ง หมายเพื่อ ศึกษาความสามารถในการคิด
วิเคราะห์ของเด็กปฐมที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการใช้วิ ธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ครูและผู้ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยรวมทั้งส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยมีลำดับขั้นตอนในการศึกษาและผลการศึกษาค้นคว้า ดังต่อไปนี้

ความมุ่งหมายของการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้
          1. เพื่อศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
          2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


สมมุติฐานในการวิจัย
            เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มี
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย
           ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาล 3   ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553   โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180  คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่ก าลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2553โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling unit) โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน
 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
            1. แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
            2. แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการทดลอง
              การวิจัยครั้งนี้ ด าเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  เป็นเวลา 8สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3วัน คือ วันละประมาณ 40นาที รวม24 โดยมีขั้นตอนดังนี้
              1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1สัปดาห์
              2. ผู้วิจัยท าการทดสอบการคิดวิเคราะห์เด็กปฐมวัย (Pretest) ก่อนการทดลองจากนั้นน ามาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
              3. ผู้วิจัยท าการทดลองด้วยแผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างและหลังการจัดประสบการณ์
              4. หลังจากการทดลองผู้วิจัยท าการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย (Posttest) หลังการทดลองซึ่งใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ช้ในการทดสอบก่อนการทดลอง
              5. นำข้อมูลที่ใช้ได้จากการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐานและสรุปผลการทดลอง

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการดังนี้
           1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาได้ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
           2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง t-test แบบ Dependent Samples


สรุปผลการวิจัย
ผลจากการวิจัยมีดังนี้
          1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ เด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของ ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
         2.ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ.01


การอภิปรายผล

           จากการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนพบว่าการวิจัย  ในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลด้านต่าง ๆ ประกอบได้ดังนี้

            1.ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนภายหลังการได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีระดับสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยส ำคัญทางสถิติระดับ .01
ซึ่งเป็นไปตามสมติฐาน ที่ตั้งไว้การที่เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น 

           2.ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ซึ่งอภิปรายผลได้ดังนี้2.1 ความสามารถในการวิเคราะห์ด้านการจัดหมวดหมูผลการศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์การจัดหมวดหมู่ก่อนได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ย 8.03 และภายหลังการได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ซึ่งเป็นตามสมติฐานที่ตั้งไว้เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนในการคิดวิเคราะห์ที่สูงขึ้น กระบวนการวิจัยมีค่าเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ครั้งที่ 19 วันที่ 30/09/56



อาจารย์ ให้นำงาน สื่อกลุ่ม วิทยาศาสตร์ที่ทำมาจากกล่อง และ ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ มาส่งในชั้นเรียนใหครบทุกชิ้น  เพื่อที่จะนำไปจัดนิทรรศกาลวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 18 วันที่ 23/09/56




วันนี้ อาจารณ์ตฤณ แจ่มถิ่น ได้เข้ามาสอนการทำ Cooking ตามแผนการจัดประสบการณ์ที่ได้เขียนไว้เมื่อสปดาห์ที่แล้ว การทำแกงจืด โดยมีขั้นตอนดังนี้











วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 17 วันที่ 16/09/56



วันนี้อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น เข้ามาสอนแทน โดยอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม ทำ Cooking เขียนเป็น Mild map โดยแผ่นแรก เริ่มทำจาก ถ้าพูดถึง Cooking เรานึกถึงอะไรบ้าง ในสมาชิกในกลุ่มร่วมกันระดมความคิดและเขียนใส่ลงไปในกระดาษ โดยกลุ่มของข้าพเจ้า เสนอความคิด ดังนี้



หลังจากเสร็จ ใบที่ 1 แล้ว อาจารย์ได้แจกกระดาษใบที่ 2 โดยแผ่นนี้ให้สมาชิกในกลุ่ม ร่วมระดมความคิดกันว่า เราจะทำเมนู อาหารอะไร ที่เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย มีประโยชน์อย่างไร ใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ อะไรบ้าง  กลุ่มของข้าพเจ้า เสนอเมนู ไข่พะโล้


และ กระดาษใบที่ 3 อาจารย์ให้สมาชิกในกลุ่ม ช่วยกันคิด ประกอบอาหาร จากเมนู ที่เราคิดไปในแผ่นที่ 2 บอกวิธีการประกอบอาหาร อย่างละเอียด



และใบสุดท้าย ใบที่ 4 ใบนี้จะเป็นการเขียนแผนการสอน Cooking จะใช้วิธีสอนเด็กระดับปฐมวัยอย่างไร ในการประกอบอาหาร เมนูที่สมาชิกในลุ่มได้เสนอมา โดยใช้เทคนิค วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เข้ามาเป็นหลัก และตั้งชื่อหนวย กลุ่มของข้าพเจ้าได้ตั้งชื่อ 
หน่วยว่า "ไข่พะโล้แสนอร่อย"





สรุปแผ่นรวมการทำ Cooking วันนี้ คือ




และอาจารย์ก็ให้ทุกคน ออกไปนำเสนอ เมนูอาจารย์ ที่กลุ่มตนเองได้คิดขึ้นมา







และให้เพื่อนๆ ในห้องร่วมกันเสนอ เมนูอาหาร ที่เพื่อนนำเสนอ ว่าอยากจะทำอะไร
ได้ข้อสรุปว่า เราจะทำ แกงจืด




อาจารย์ จึงให้กลุ่มที่ เป็นเจ้าของ เมนู อาหาร แบ่งหน้าที่ กับเพื่อนๆ ในห้อง ว่าใครทำอะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง และต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรมาลงมือทำ ในสัปดาห์ถัดไป

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 16 วันที่ 15/09/56


วันนี้เป็นวัน เรียนชดเชย อาจารย์ให้ออกมานำเสนอ  งานสื่อเข้ามุม ทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้



ภาพสามมิติ



นิทานแม่เหล็ก



กล่องสีน่าค้นหา




รถลงหลุม



ลิงห้อยโหน



เวทีซูโม่กระดาษ



กระดาษเปลี่ยนสี




สัตว์โลกน่ารัก




ตัวอ่อนตัวเต็มวัย





และ ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ อ มี ดังนี้


กระป๋องผิวปาก



กระดาษร้องเพลง



กิ้งก่าไต่เชือก



บูมมาแรง




และการทดลองทางวิทยาศาสตร์


กาลักน้ำ



ขวดตะเกียบ



ดอกไม้บาน





                       สรุป ภาพรวมจากการเรียนการสอนวันนี้ ทำให้เราได้รู้ของเล่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ว่ามีหลักการอย่างไร ทำไมถึงได้เป็นวิทยาศาสตร์ บางชิ้น ก็เคยเห็นมาบ้างแล้ว แต่บางชิ้นก็มีความแปลกใหม่ น่าสนใจ อาจารย์ได้แนะนำ การประดิษฐ์ ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงหลักการต่างๆทางวิทยาศาสตร์ ที่เราสามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้ และสามารถ สื่อสารกับเด็ก ให้เด็ก สามารถเข้าใจ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี


วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 15 วันที่ 09/09/56




ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก อาจารย์ ติดธุระ จึงให้ไปเตรียมงานที่ต้องนำเสนอ และขอเรียนชดเชย ในวัน อาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556 พร้อมงานที่จะนำเสนอ มีดังนี้

                                                          1. สื่อเข้ามุม ( งานกลุ่ม )
                                                          2. งานทดลองทางวิทยาศาสตร์ ( งานกลุ่ม )
                                                          3. ของเล่นทางวิทย์ยาศาสตร์