วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 13 วันที่ 26/08/56



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ ติดธุระ งานมุธิตาจิต

ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ กรรณิกา สุขสม

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 12 วันที่ 19/08/56




  อาจารย์ให้นำเสนอ การทดลองทางวิทยศาสตร์ 
 โดยกลุ่มของดิฉัน ทำเรื่อง

เป่าลูกโป่งในขวด

                อุปกรณ์ 
                    1. ขวดน้ำอัดลม  จำนวน 2 ใบ
                    2.  ลูกโป่ง จำนวน 2 ลูก
                    3.  ใบมืด คัตเตอร์
                    4.  เทปกาวสี

                วิธีทำ
                  1. นำขวดน้ำอัดลม จำนวน 2 ใบ มาล้างให้สะอาด และ นำไปตากลมให้แห้ง
                  2. นำขวดน้ำอัดลม มา 1 ใบ เจาะรู ด้านข้าง จำนวน 2 รู และใช้เทปกาวสี ติดรู ที่เราเจาะ
                      เพื่อให้เห็นความแตกต่าง

               วิธีการทดลอง
               1)นำขวดน้ำอัดลมวางไว้บนโต๊ะ ใบที่ 1 ไม่เจาะรู ใบที่ 2 เจาะรู    
               2)นำลูกโป่งใส่ลงไปในขวด ขวดใบที่ 1 และ ใบที่ 2 จากนั้นรัดลูกโป่งไว้ที่ปากขวด
               3) เป่าลูกโป่งที่อยู่ในขวด ทั้งสอง สังเกตความแตกต่าง

                วิธีการสอน
                   1. เราหยิบปวดทั้งสองใบขึ้นมา แล้วถามเด็กๆ ว่า เด็ก เห็นอะไรไหมคะ วันนี้คุณครูเตรียมอะไรมา
                   2. คุณครูถามต่อว่า เด็ก ดูซิคะ ว่าถ้าคุณครูนำลูกโป่งมารัดไว้ที่ปากขวด แล้วคุณครูอยากเป่าลูกโป่ง ให้                                   ลูกโป่ง สามารถ พองในขวดได้ คุณครูจะเป่าได้ไหมคะ แล้วเราก็ทดลองเป่าให้เด็กๆ ดู
                  3. เมื่อ เราไม่สามารถเป่าได้ เราจึงถามต่อ ทำไมลูกโป่งในขวดของคุณครู ถึงไม่พองนะ
                  4.   และ หยิบขวดใบที่สองที่เราเจาะรู และทำสัญลักษณ์ ไว้ และถามเด็กๆ ว่า ไหน คุณครูจะลองหยิบขวดใบที่                          2 มา เอ๊ะ!!  ขวดใบที่ 2 เหมือนขวดใบที่ 1 ไหมนะ ?? 
                  5.  แล้วเราก็เป่าขวดที่เราได้เจาะรู พร้อมทำสัญลักษณ์ ให้เด็กๆ ดู 
                  6.  เมื่อลูกโป่งสามารถพองตัวได้ เอ๊ะ!! แปลกจังเลย ทำไม ใบที่ 2 ถึงเป่าได้ แต่ทำไม ใบที่ 1 ถึงเป่าไม่ได้
                  7.  และคุณครู ก็สอน ในเรื่องของ อากาศ 

             การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้
                           อากาศรอบๆตัวเรามีแรงดัน เมื่อเรานำลูกโป่งรัดปากขวดไว้ แล้วเป่าลูกโป่ง ในขวด เราจะไม่สามารถเป่าลูกโป่งได้ แต่ถ้า เราเจาะรู ไว้ที่ขวดแล้วเป่าลูกโป่ง เราสามารถเป่าลูกโป่งได้ เพราะถ้าเราไม่เจาะขวด อากาศ ภายนอกก็จะเข้ามาไม่ได้  แต่เมื่อเราเจาะรูที่ขวด อากาศภายนอกจะเข้ามาไล่อากาศภายในขวดออกมา ลูปโป่งจึงพองตัวขึ้น สามารถนำความรู้เรื่องความดันอากาศมาผลิตเป็นสิ่งของเครื่องใช้มากมาย เช่น ที่แขวนตุ๊กตาติดกระจก หลอดดูดน้ำ ปืนอัดลม เป็นต้น









และกลุ่มของเพื่อน มีัทั้งหมด 16 กลุ่ม ดังนี้


1. ลูกโป่งไฟฟ้าสถิต






 2. แรงตึงผิว





3. ลูกโป่งในขวด





4. เป่าฟองสบู่





5. ไข่ลอยจม


6. จดหมาย





7. ทึบแสง โปร่งแสง




8. ลาวา




9. หลอดดูดไม่ขึ้น




10. ตัวอักษรล่องหน






11. ขวดเป่าลูกโป่ง




12. เทียนไขไม่ดับ



13. กาวอวกาศ

14. ฟิมล์จากน้ำยาเคลือบเล็บ



15. เปลวไฟลอยน้ำ





16. ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน










วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 11 วันที่่ 17/08/56




อาจารย์ สอนชดเชย 

โดยให้เพื่อน ออกไปนำเสนอ ของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเอง
ของเล่นของดิฉัน คือ  ยางรถยนตร์





ยางรถยนต์

                                     อุปกรณ์
                                              1. หลอดด้าย
                                               2. ตะเกียบ
                                               3. หนังยางเส้นยาว 1 เส้น
                                               4. กระดุม
  
                                   วิธีทำ 
                                    1.       นำหลอดด้ายเปล่า ทำตกแต่งให้สวยงาม
                                    2.       นำหนังยางเส้นยาวมาร้อยเข้าไปในหลอดด้าย และใช้ก้านไม้ ยึดไว้หนึ่งด้าน
                                    3.       นำไม้ตะเกียบมาร้อยไปบนเส้นยางอีกด้านที่ยัง ไม่ได้ใชไม้ยึด
                                   4.       นำกระดุม มาด้วยติดกับเชือก และตะเกียบ

                                 วิธีเล่น
                                       ใช้มือจับด้ามตะเกียบ แล้วหมุนแกนของหลอดด้าย ประมาณ 5 วินาที ปล่อยลงบนพื้นที่ราบ 
                                สังเกตการ  เคลื่อนไหว


                            หลักการทางวิทยาศาสตร์
                       การบิดยางรัดให้เป็นเกลียว จะมีการสะสมของพลังงานเป็นพลังงานศักย์ เมื่อเราปล่อลงในพื้นที่ราบ  เกลียวของยางก็จะคลายออกทำให้แกนด้ายหมุนเหมือนกังหัน จึงเกิดพลังงานจลน์ในการเคลื่อนที่จึงทำให้หลอดด้ายเคลื่อนที่ได้




วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 10 วันที่ 12/08/56


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุด "วันแม่"



วันแม่แห่งชาติ 2556 กลอนวันแม่
ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ 2555
12 สิงหาของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติไทย

ความหมายของคำว่า "แม่"

     คำว่า แม่พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้

     แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น

     1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
        - หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
        - คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
        - คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
     รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน

     2. ชนนี หมายถึง ผู้ให้กำเนิดลูก, เป็นที่บังเกิดเกล้าของลูก

     3. ภรรยา หรือภริยา หมายถึง
        - เมีย หรือ หญิงผู้เป็นคู่ครองของชาย
        - ผู้เลี้ยง หรือผู้ดูแลสมาชิกของครอบครัว

     นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของ ทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ ได้แก่ ม , , ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น

ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ เม๋เปะ
ภาษาไทใต้คง เม เป็นต้น

วันแม่แห่งชาติ รักใดเล่ารักแน่เท่าแม่รัก

พระคุณแม่ยิ่งใหญ่หาใดเทียบมิอาจเปรียบแม้ภูผาชลาสินธุ์
น้ำนมที่กลั่นให้ลูกได้ดื่มกินลูกถวิลถึงคุณค่าว่าอนันต์

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ

            ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี พ.ศ.2457 โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย

     วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

     ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่

     การที่ใช้ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อ ลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ

วันแม่แห่งชาติ ใช้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์


ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่

ดอกมะลิดอกไม้ประจำวันแม่

ชื่อ :
มะลิ มะลิลา มะลิหลวง มะลิซ้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อพฤกษศาสตร์ :
Jusminum adenophyllum.
วงศ์ :
OLEACEAE
ลักษณะทั่วไป :
เป็น พรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ :
เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา :
มะลินอกจากจะมีกลิ่นหอมไว้ดมแล้ว มะลิดอกแห้งใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี


ดอกมะลิสัญลักษณ์ประจำวันแม่
มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก กรุ่นกลิ่น รักบริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ เป็นมาลัย กราบแม่พร้อมน้อมบูชา

ดอกเอ๋ยดอกมะลิ
ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน 
เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง  
เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย
ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย

*คำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 8 วันที่ 29/07/2556





ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก อาจารย์ ได้ให้ไปเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ ในวันถัดไป