วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 12 วันที่ 19/08/56




  อาจารย์ให้นำเสนอ การทดลองทางวิทยศาสตร์ 
 โดยกลุ่มของดิฉัน ทำเรื่อง

เป่าลูกโป่งในขวด

                อุปกรณ์ 
                    1. ขวดน้ำอัดลม  จำนวน 2 ใบ
                    2.  ลูกโป่ง จำนวน 2 ลูก
                    3.  ใบมืด คัตเตอร์
                    4.  เทปกาวสี

                วิธีทำ
                  1. นำขวดน้ำอัดลม จำนวน 2 ใบ มาล้างให้สะอาด และ นำไปตากลมให้แห้ง
                  2. นำขวดน้ำอัดลม มา 1 ใบ เจาะรู ด้านข้าง จำนวน 2 รู และใช้เทปกาวสี ติดรู ที่เราเจาะ
                      เพื่อให้เห็นความแตกต่าง

               วิธีการทดลอง
               1)นำขวดน้ำอัดลมวางไว้บนโต๊ะ ใบที่ 1 ไม่เจาะรู ใบที่ 2 เจาะรู    
               2)นำลูกโป่งใส่ลงไปในขวด ขวดใบที่ 1 และ ใบที่ 2 จากนั้นรัดลูกโป่งไว้ที่ปากขวด
               3) เป่าลูกโป่งที่อยู่ในขวด ทั้งสอง สังเกตความแตกต่าง

                วิธีการสอน
                   1. เราหยิบปวดทั้งสองใบขึ้นมา แล้วถามเด็กๆ ว่า เด็ก เห็นอะไรไหมคะ วันนี้คุณครูเตรียมอะไรมา
                   2. คุณครูถามต่อว่า เด็ก ดูซิคะ ว่าถ้าคุณครูนำลูกโป่งมารัดไว้ที่ปากขวด แล้วคุณครูอยากเป่าลูกโป่ง ให้                                   ลูกโป่ง สามารถ พองในขวดได้ คุณครูจะเป่าได้ไหมคะ แล้วเราก็ทดลองเป่าให้เด็กๆ ดู
                  3. เมื่อ เราไม่สามารถเป่าได้ เราจึงถามต่อ ทำไมลูกโป่งในขวดของคุณครู ถึงไม่พองนะ
                  4.   และ หยิบขวดใบที่สองที่เราเจาะรู และทำสัญลักษณ์ ไว้ และถามเด็กๆ ว่า ไหน คุณครูจะลองหยิบขวดใบที่                          2 มา เอ๊ะ!!  ขวดใบที่ 2 เหมือนขวดใบที่ 1 ไหมนะ ?? 
                  5.  แล้วเราก็เป่าขวดที่เราได้เจาะรู พร้อมทำสัญลักษณ์ ให้เด็กๆ ดู 
                  6.  เมื่อลูกโป่งสามารถพองตัวได้ เอ๊ะ!! แปลกจังเลย ทำไม ใบที่ 2 ถึงเป่าได้ แต่ทำไม ใบที่ 1 ถึงเป่าไม่ได้
                  7.  และคุณครู ก็สอน ในเรื่องของ อากาศ 

             การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้
                           อากาศรอบๆตัวเรามีแรงดัน เมื่อเรานำลูกโป่งรัดปากขวดไว้ แล้วเป่าลูกโป่ง ในขวด เราจะไม่สามารถเป่าลูกโป่งได้ แต่ถ้า เราเจาะรู ไว้ที่ขวดแล้วเป่าลูกโป่ง เราสามารถเป่าลูกโป่งได้ เพราะถ้าเราไม่เจาะขวด อากาศ ภายนอกก็จะเข้ามาไม่ได้  แต่เมื่อเราเจาะรูที่ขวด อากาศภายนอกจะเข้ามาไล่อากาศภายในขวดออกมา ลูปโป่งจึงพองตัวขึ้น สามารถนำความรู้เรื่องความดันอากาศมาผลิตเป็นสิ่งของเครื่องใช้มากมาย เช่น ที่แขวนตุ๊กตาติดกระจก หลอดดูดน้ำ ปืนอัดลม เป็นต้น









และกลุ่มของเพื่อน มีัทั้งหมด 16 กลุ่ม ดังนี้


1. ลูกโป่งไฟฟ้าสถิต






 2. แรงตึงผิว





3. ลูกโป่งในขวด





4. เป่าฟองสบู่





5. ไข่ลอยจม


6. จดหมาย





7. ทึบแสง โปร่งแสง




8. ลาวา




9. หลอดดูดไม่ขึ้น




10. ตัวอักษรล่องหน






11. ขวดเป่าลูกโป่ง




12. เทียนไขไม่ดับ



13. กาวอวกาศ

14. ฟิมล์จากน้ำยาเคลือบเล็บ



15. เปลวไฟลอยน้ำ





16. ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น