วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย


สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ


          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีจุด มุ่ง หมายเพื่อ ศึกษาความสามารถในการคิด
วิเคราะห์ของเด็กปฐมที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการใช้วิ ธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ครูและผู้ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยรวมทั้งส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยมีลำดับขั้นตอนในการศึกษาและผลการศึกษาค้นคว้า ดังต่อไปนี้

ความมุ่งหมายของการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้
          1. เพื่อศึกษาระดับความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
          2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน


สมมุติฐานในการวิจัย
            เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มี
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย
           ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาล 3   ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553   โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ จำนวน 180  คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่ก าลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2553โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling unit) โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน
 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
            1. แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
            2. แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินการทดลอง
              การวิจัยครั้งนี้ ด าเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  เป็นเวลา 8สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3วัน คือ วันละประมาณ 40นาที รวม24 โดยมีขั้นตอนดังนี้
              1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1สัปดาห์
              2. ผู้วิจัยท าการทดสอบการคิดวิเคราะห์เด็กปฐมวัย (Pretest) ก่อนการทดลองจากนั้นน ามาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
              3. ผู้วิจัยท าการทดลองด้วยแผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างและหลังการจัดประสบการณ์
              4. หลังจากการทดลองผู้วิจัยท าการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย (Posttest) หลังการทดลองซึ่งใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ช้ในการทดสอบก่อนการทดลอง
              5. นำข้อมูลที่ใช้ได้จากการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐานและสรุปผลการทดลอง

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการดังนี้
           1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์การแก้ปัญหาได้ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
           2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง t-test แบบ Dependent Samples


สรุปผลการวิจัย
ผลจากการวิจัยมีดังนี้
          1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ เด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของ ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
         2.ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ.01


การอภิปรายผล

           จากการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับกิจกรรมกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนพบว่าการวิจัย  ในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลด้านต่าง ๆ ประกอบได้ดังนี้

            1.ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทาวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนภายหลังการได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีระดับสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยส ำคัญทางสถิติระดับ .01
ซึ่งเป็นไปตามสมติฐาน ที่ตั้งไว้การที่เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น 

           2.ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ซึ่งอภิปรายผลได้ดังนี้2.1 ความสามารถในการวิเคราะห์ด้านการจัดหมวดหมูผลการศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์การจัดหมวดหมู่ก่อนได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ย 8.03 และภายหลังการได้รับกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ซึ่งเป็นตามสมติฐานที่ตั้งไว้เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนในการคิดวิเคราะห์ที่สูงขึ้น กระบวนการวิจัยมีค่าเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น